Page 98 - 11526_Fulltext
P. 98

ตอบโจทย์สิ่งแวดล้อมท้องถิ่น : แนวทางการจัดการขยะและน้ำเสียขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

              กระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้ว่ากรณีที่ระยะเวลาของสัญญาเกินกว่า 1 ปี

              ท้องถิ่นจะต้องขอความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัด ดังนั้น ท้องถิ่น
              ควรจัดทำการศึกษาความเหมาะสมของโครงการเพื่อเปรียบเทียบข้อดีและ
              ข้อเสียของการกำหนดระยะเวลาที่สั้นเกินไป เพื่อเป็นข้อมูลในการชี้แจง
              แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดและให้ข้อเท็จจริงแก่ประชาชน


                    11) เปิดโอกาสให้บริษัทต่างประเทศ : ในการพัฒนาโครงการที่
              ต้องใช้ประสบการณ์ ความชำนาญเฉพาะด้านและเทคโนโลยี ท้องถิ่นควร
              เปิดโอกาสให้บริษัทต่างประเทศเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดการถ่ายทอด

              เทคโนโลยีและยกระดับการทำงานของบริษัทภายในประเทศ

                    12) การพิจารณาความสามารถในการกำกับดูแลของท้องถิ่น :

              จากการมีส่วนร่วมของเอกชนในกิจการของท้องถิ่น บทบาทของท้องถิ่นจะ
              เปลี่ยนแปลงจากที่เคยเป็นฝ่ายปฏิบัติการไปเป็นฝ่ายกำกับดูแล ติดตาม
              ตรวจสอบ การเตรียมพร้อมของท้องถิ่นจึงต้องเน้นการพัฒนาขีดความ
              สามารถของเจ้าหน้าที่เพื่อรองรับการทำงานที่เปลี่ยนแปลง ได้แก่ ความ

              สามารถในการบริหารสัญญา การติดตามตรวจสอบการทำงานของเอกชน
              รวมถึงการค้นคว้าวิจัยรูปแบบการจัดการเพื่อให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมใน
              การลงทุนและดำเนินการกิจการของท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ


                    13) ต้องดำเนินการอย่างโปร่งใส : กิจการที่เกี่ยวข้องกับขยะและ
              น้ำเสียถูกต่อต้านจากประชาชนได้ง่ายและความไม่พอใจของประชาชน
              จะยิ่งมากขึ้นหากท้องถิ่นทำงานโดยปิดบังข้อมูลข่าวสาร ดังนั้น ใน
              กระบวนการพัฒนาโครงการ ท้องถิ่นจะต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนรับรู้

              ข้อมูลข่าวสารอย่างสม่ำเสมอทั้งในประเด็นทางเทคนิค สิ่งแวดล้อมและ
              ที่เกี่ยวข้องกับการเงิน








          การมีส่วนร่วมของเอกชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม
   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103