Page 47 - 11526_Fulltext
P. 47
ตอบโจทย์สิ่งแวดล้อมท้องถิ่น : แนวทางการจัดการขยะและน้ำเสียขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2) ระบบกำจัดขยะชุมชนแบบครบวงจร จังหวัดชลบุรี ระบบ
กำจัดขยะชุมชนแบบครบวงจรริเริ่มโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี
ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่งในจังหวัดชลบุรีในปี พ.ศ.
2542 ได้รับงบประมาณเพื่อการก่อสร้างจากกระทรวงวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมในสมัยนั้น งานก่อสร้างแล้วเสร็จและเริ่มเดิน
ระบบในปี พ.ศ. 2548 ระบบได้รับการออกแบบให้ผสมผสานวิธีการต่างๆ
ประกอบด้วยระบบคัดแยก ระบบย่อยสลายแบบไร้อากาศ (Anaerobic
Digestion) เพื่อนำเอาก๊าซชีวภาพไปใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ระบบผลิต
ปุ๋ย เตาเผากำจัดขยะติดเชื้อและระบบฝังกลบ ทั้งหมดมีขีดความสามารถ
รวมในการกำจัดขยะประมาณ 300-400 ตันต่อวัน ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 0.9
เมกกะวัตต์ และเมื่อเดินระบบได้ตามที่ออกแบบไว้จะผลิตปุ๋ยได้ประมาณ
40 ตันต่อวัน สุดท้ายจะมีขยะที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้และต้องกำจัดด้วยการ
ฝังกลบประมาณร้อยละ 15 ของปริมาณขยะที่นำมากำจัด ในการเดิน
ระบบได้ประมาณการว่าต้นทุนค่าใช้จ่ายและรายได้ต่อปีของโครงการ
ประมาณ 46 ล้านบาทและ 115 ล้านบาทตามลำดับ พร้อมทั้งได้คาดการณ์
ไว้ว่าโครงการจะมีผลกำไรจากการขายกระแสไฟฟ้า วัสดุรีไซเคิลและปุ๋ย
เป็นหลัก
เมื่อได้เดินระบบจริง พบว่าปริมาณขยะที่ต้องคัดทิ้งมากกว่าร้อยละ
80 ของปริมาณขยะที่นำเข้ามากำจัด ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ได้จริงทั้งใน
รูปของวัสดุรีไซเคิลและนำไปทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ไม่เกินร้อยละ 20 เกิด
ปัญหาในการเดินระบบ ประการแรก โครงการไม่สามารถผลิตกระแส
ไฟฟ้าได้เนื่องจากปริมาณขยะอินทรีย์ที่เข้าสู่ระบบย่อยสลายแบบ
ไร้อากาศไม่เพียงพอ ประการที่สอง ต้นทุนค่าใช้จ่ายที่จะต้องจัดการกับ
ขยะที่ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์จำนวนมากเพิ่มขึ้น และรายได้ของ
โครงการลดลงจนทำให้รายได้ไม่เพียงพอกับต้นทุนการเดินระบบ
ประการที่สาม จากการที่มีปริมาณขยะคัดทิ้งจำนวนมากทำให้ปริมาณ
ขยะชุมชน (Solid Waste)