Page 42 - 11526_Fulltext
P. 42

ตอบโจทย์สิ่งแวดล้อมท้องถิ่น : แนวทางการจัดการขยะและน้ำเสียขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
         2
                    ขั้นตอนที่ 1 การคัดแยกจากครัวเรือน โดยวิถีชีวิตของคนไทย มี

              การคัดแยกขยะก่อนทิ้งอยู่แล้วเพื่อนำมาใช้ซ้ำหรือนำไปขาย เช่น การแยก
              ถุงพลาสติก ขวด กระดาษหนังสือพิมพ์ โลหะรวมถึงการแยกเศษอาหารไว้
              เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น


                    ขั้นตอนที่ 2 การคัดแยกโดยซาเล้งหรือรถรับซื้อขยะ
              กระบวนการนี้เป็นจุดแข็งของการคัดแยกและลดปริมาณขยะของสังคม
              ไทยมาช้านาน แต่การทำงานของกลุ่มซาเล้งหรือรถรับซื้อขยะก็เกิดผล
              ด้านลบ เช่นกัน เช่น การคุ้ยหาวัสดุรีไซเคิลจากถังรองรับโดยไม่เก็บกลับ

              ให้เรียบร้อย รวมถึงพฤติกรรมที่มักเอาเปรียบชาวบ้านในการรับซื้อทำให้
              กระบวนการดังกล่าวไม่ได้รับการสนับสนุนจากชาวบ้านและท้องถิ่น
              เนื่องจากการคัดแยกในขั้นตอนนี้มีเวลาจำกัด เช่นต้องรีบดำเนินการก่อน

              การเก็บขน ดังนั้น ขยะที่ถูกคัดแยกจะเป็นขยะที่มีมูลค่าสูง เช่น กระป๋อง
              อลูมิเนียม ขวดพลาสติก ทำให้ยังคงมีขยะอีกจำนวนมากที่ไม่ได้รับการ
              คัดแยก


                    ขั้นตอนที่ 3 การคัดแยกโดยพนักงานเก็บขนของท้องถิ่น
              เป็นการคัดแยกขยะส่วนที่ยังคงมีมูลค่าและหลงเหลือจากสองขั้นตอน
              ข้างต้น การคัดแยกดังกล่าวนอกจากจะช่วยลดปริมาณขยะที่นำไปกำจัด
              แล้วยังสร้างรายได้ให้กับพนักงานเก็บขนของท้องถิ่นอีกด้วย ผลเสียของ

              การคัดแยกในระหว่างการเก็บขนคือประสิทธิภาพในการเก็บขนต่ำลง
              เนื่องจากการใช้เวลาในการคัดแยกและแวะพักเพื่อขายทำให้ระยะเวลาใน
              การเก็บขนในแต่ละเที่ยวเพิ่มขึ้น จำนวนเที่ยวต่อวันลดลง มีผลให้ต้นทุน
              ในการเก็บขนของท้องถิ่นสูงขึ้น


                    ขั้นตอนที่ 4 การคัดแยกในพื้นที่กำจัดขยะ เป็นขั้นตอนสุดท้าย
              ที่มีกิจกรรมการคัดแยกขยะก่อนที่จะถูกกำจัดด้วยการฝังกลบ ในขั้นตอนนี้

              จะเกิดขึ้นในพื้นที่เทกองหรือที่พักขยะโดยคนคุ้ยซึ่งมักเป็นชาวบ้านที่อาศัย




          ขยะชุมชน (Solid Waste)
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47