Page 43 - 11526_Fulltext
P. 43
ตอบโจทย์สิ่งแวดล้อมท้องถิ่น : แนวทางการจัดการขยะและน้ำเสียขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับสถานที่ฝังกลบ แม้การคัดแยกในขั้นตอนนี้จะ
เป็นการคัดแยกขยะที่คงหลงเหลือจาก 3 ขั้นตอนแรก ทำให้ปริมาณขยะที่
จะกำจัดจริงลดลง แต่การทำงานของคนคุ้ยขยะเป็นอุปสรรคในการทำงาน
ของเครื่องจักรในสถานที่ฝังกลบที่ต้องเป็นไปตามมาตรฐานและปลอดภัย
ที่กล่าวว่า สังคมไทยมีการคัดแยกขยะแบบไม่เป็นทางการ หมายถึง
การคัดแยกที่ไม่ได้เกิดจากการจัดการของท้องถิ่น แต่ขึ้นกับปัจจัยราคา
ซื้อขายและการเก็บรวบรวมวัสดุรีไซเคิลขึ้นกับกลไกที่เกิดขึ้นเอง ดังนั้น
หากต้องการให้เกิดกลไกที่มีแบบแผนหรือแบบเป็นทางการ รัฐและท้องถิ่น
จะต้องกำหนดนโยบาย เป้าหมายและการใช้มาตรการ ข้อบัญญัติของ
ท้องถิ่นเพื่อให้เกิดแบบแผนการคืนซากบรรจุภัณฑ์ การทิ้งและการจัดเก็บ
โดยใช้ปัจจัยราคาซื้อขายเป็นเพียงเครื่องมืออย่างหนึ่งที่นำมาใช้ในการ
จัดการ
ท้องถิ่นควรทำการสำรวจจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับขยะซึ่งได้แก่
ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในพื้นที่และองค์ประกอบของขยะทั่วไป และหาก
สามารถวิเคราะห์องค์ประกอบของขยะจากแหล่งกำเนิดได้จะช่วยให้การ
จัดทำแผนการคัดแยกจากต้นทางโดยการมีส่วนร่วมของชาวบ้าน ร้านค้า
ท้องถิ่นมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถให้ความรู้ความเข้าใจ หรือการจัด
กิจกรรมรณรงค์ กิจกรรมการมีส่วนร่วมของชาวบ้านในการลดและคัดแยก
ขยะ รวมถึงการกำหนดวิธีจัดเก็บรวบรวมซึ่งจะทำให้การคัดแยกขยะมี
รูปแบบที่แน่นอนภายใต้การจัดการของท้องถิ่นโดยไม่ขึ้นกับปัจจัยราคา
รับซื้อแต่อย่างเดียว
ปัจจุบัน มีตัวอย่างกิจกรรมเพื่อการให้ความรู้ ความเข้าใจเรื่องการ
ลดและคัดแยกขยะมากมาย เช่น กิจกรรมขยะแลกไข่ ธนาคารวัสดุ
รีไซเคิล ตลาดนัดวัสดุรีไซเคิล การทำปุ๋ยอินทรีย์ในครัวเรือน โดยท้องถิ่น
สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากท้องถิ่นอื่นที่เคยดำเนินการมาแล้วหรือ
ขยะชุมชน (Solid Waste)