Page 38 - 11526_Fulltext
P. 38
ตอบโจทย์สิ่งแวดล้อมท้องถิ่น : แนวทางการจัดการขยะและน้ำเสียขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2
แม้ว่านโยบายและเป้าหมายที่กำหนดไว้ยังมีปัญหาในแง่การนำไป
ปฎิบัติ แต่ท้องถิ่นยังสามารถนำเอาสาระสำคัญของนโยบายในแผน
พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 พ.ศ. 2550-2554 และสาระ
สำคัญของเป้าหมายทั้งสามด้านมาปรับใช้ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับ
สภาพปัญหาที่แท้จริงของตน เช่น 1) การกำหนดเป้าหมายเพื่อการลด
ปริมาณขยะ 2) เป้าหมายเพื่อส่งเสริมการนำกลับมาใช้ใหม่ในพื้นที่ และ
3) การดูแลให้การกำจัดขยะเป็นไปตามหลักวิชาการมากที่สุดเพื่อลด
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของชุมชน
ลำดับความสำคัญของการจัดการขยะ
(Waste Management Hierarchy)
ตามที่ได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงการจัดการขยะของสังคมไทยที่
ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาจากแหล่งกำเนิดมากขึ้นแทนการพัฒนา
แต่วิธีการกำจัดปลายทางเช่นที่ผ่านมา การแก้ปัญหาจากแหล่งกำเนิดเป็น
ส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการขยะซึ่งมีขั้นตอนที่สรุปเป็นหลักการ
ที่เรียกว่า “ลำดับความสำคัญของการจัดการขยะ” (Waste
Management Hierarchy)
ลำดับความสำคัญของการจัดการขยะได้รับการพัฒนาขึ้นโดย
หน่วยงานป้องกันสิ่งแวดล้อม(Environmental Protection Agency) ของ
สหรัฐอเมริกา เป็นการจัดเรียงลำดับขั้นตอนในการแก้ปัญหาขยะชุมชนตั้ง
แต่การใช้มาตรการป้องกันจนถึงการกำจัดซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้าย ประกอบ
ด้วย 1) การลดปริมาณขยะมูลฝอยจากแหล่งกำเนิด (Reduce) 2) การใช้
ซ้ำ (Reuse) 3) การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) 4) การนำพลังงานที่ได้จาก
การกำจัดมาใช้ประโยชน์ (Energy Recovery) และ 5) การกำจัดในขั้นตอน
ขยะชุมชน (Solid Waste)