Page 35 - 11526_Fulltext
P. 35
ตอบโจทย์สิ่งแวดล้อมท้องถิ่น : แนวทางการจัดการขยะและน้ำเสียขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2
สิ่งที่จะทำให้กระบวนการต้นทางกับวิธีกำจัดปลายทางหรือปัญหา
ขยะของชาวบ้านกับภารกิจการจัดการขยะของท้องถิ่นเป็นเรื่องเดียวกัน
ก็คือความรู้ ความเข้าใจของทุกคน ทุกฝ่ายในทิศทางเดียวกันซึ่งเป็นผล
จากการทำงานอย่างจริงจังของท้องถิ่นที่มีนโยบาย เป้าหมายและแผนการ
ทำงานชัดเจนตั้งแต่ต้นทางจนถึงขั้นตอนสุดท้าย สามารถตอบคำถามได้
ว่าทำไมต้องคัดแยกขยะ จะแยกอย่างไร แล้วจะจัดเก็บและจัดการกับขยะ
แต่ละประเภทอย่างไร หากคำถามเหล่านี้ปราศจากคำตอบที่ชัดเจน ย่อม
สะท้อนถึงปัญหาที่เกิดจากการกำหนดนโยบาย และการจัดทำแผนที่ต้อง
อาศัยความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการจัดการขยะอย่างแท้จริง กิจกรรม
การรณรงค์เพื่อให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะจะเป็น
เพียงกิจกรรมรณรงค์ตามกระแสไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง
ปรับปรุงให้การจัดการขยะดีขึ้น
ปัจจุบันเราทำงานด้านการจัดการขยะภายใต้นโยบายและ
เป้าหมายซึ่งกำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่
10 พ.ศ. 2550-2554 มีเป้าหมายสำคัญ 3 ประการ คือ 1) ด้านการจัดการ
ขยะที่ต้องการลดอัตราการเกิดขยะไม่ให้เกิน 1 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน 2) ให้
มีการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 และ 3) มีระบบ
กำจัดถูกต้องตามหลักวิชาการไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของปริมาณที่เกิดขึ้น
เป้าหมายแรก การลดอัตราการเกิดขยะต่อประชากรไม่ให้เกิน
1 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน เป็นเป้าหมายที่ให้ความสำคัญกับการลดปริมาณ
ขยะที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น แต่การนำอัตราการผลิตขยะ 1 กิโลกรัมต่อคน
ต่อวันเป็นเป้าหมาย อาจไม่เหมาะสมสำหรับท้องถิ่นหลายแห่ง เช่น ใน
พื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลเกือบทั้งหมดมีอัตราการเกิดขยะต่อ
ประชากรต่ำกว่าเป้าหมายอยู่แล้ว เป้าหมายดังกล่าวจึงไม่ทำให้ท้องถิ่น
ขนาดเล็กให้ความสำคัญกับการลดปริมาณขยะ ขณะที่ท้องถิ่นที่เป็นพื้นที่
ขยะชุมชน (Solid Waste)