Page 49 - 11526_Fulltext
P. 49
ตอบโจทย์สิ่งแวดล้อมท้องถิ่น : แนวทางการจัดการขยะและน้ำเสียขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
จากตัวอย่างของระบบกำจัดแบบผสมผสานหรือระบบกำจัดแบบ
ครบวงจรทั้ง 3 แห่งข้างต้น พบว่าประสบปัญหาด้านประสิทธิภาพในการ
เดินระบบไม่เป็นไปตามที่ออกแบบ บางแห่งประสบปัญหาจนต้องหยุด
เดินระบบ สาเหตุสำคัญคือการที่ขยะไม่ได้รับการคัดแยกจากแหล่งกำเนิด
และระบบคัดแยกของโครงการไม่สามารถคัดแยกประเภทของขยะได้ตาม
ที่ต้องการ
2. ระบบผลิตกระแสไฟฟ้าจากขยะ (Waste to Energy)
การนำขยะไปผลิตกระแสไฟฟ้าได้รับความสนใจจากท้องถิ่นและ
เอกชนเพราะคาดหวังว่ารายได้จากการขายกระแสไฟฟ้าจะทำให้ผล
ตอบแทนคุ้มกับการลงทุน โดยเฉพาะเมื่อกระทรวงพลังงานเข้ามามี
บทบาทส่งเสริมการผลิตพลังงานทดแทน กำหนดมาตรการการเงินที่รู้จัก
กันในชื่อของ Adders หรือ ส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า มีการกำหนด
ราคารับซื้อกระแสไฟฟ้าตามประเภทของเชื้อเพลิงและเทคโนโลยีดังนี้
กรณีของการใช้วิธีกำจัดขยะแบบระบบหมักหรือหลุมฝังกลบขยะ
และใช้ก๊าซชีวภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้า อัตราส่วนเพิ่มราคารับซื้อ
กระแสไฟฟ้าเท่ากับ 2.50 บาทต่อหน่วย ในกรณีการกำจัดขยะแบบ
กระบวนการที่ใช้ความร้อนหรือการเผา (Thermal Conversion Process)
อัตราส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าเท่ากับ 3.50 บาทต่อหน่วย เป็นระยะเวลา
7 ปีนับตั้งแต่เริ่มจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบตามสัญญาซื้อขาย
ปัจจุบัน เรามีโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากขยะที่ใช้เทคโนโลยีที่
แตกต่างกัน 3 ลักษณะ ดังนี้
1) การผลิตกระแสไฟฟ้าจากเตาเผา มีเตาเผาของจังหวัดภูเก็ต
เป็นตัวอย่าง ออกแบบให้สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 2.5 เมกกะวัตต์เมื่อ
ขยะชุมชน (Solid Waste)