Page 50 - 11526_Fulltext
P. 50

ตอบโจทย์สิ่งแวดล้อมท้องถิ่น : แนวทางการจัดการขยะและน้ำเสียขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
         0
              เดินระบบกำจัดขยะเต็มที่ 250 ตันต่อวัน ปัจจุบัน แม้ว่าขยะที่เข้าสู่เตาเผา

              จะมากจนเกินขีดความสามารถในการเผา แต่ผลิตกระแสไฟฟ้าได้เพียง
              1.6-1.8 เมกกะวัตต์เนื่องจากความชื้นของขยะ ขณะนี้ท้องถิ่นต่างๆ ใน
              จังหวัดภูเก็ตหันกลับมาให้ความสำคัญกับการคัดแยกขยะจากแหล่ง
              กำเนิดเพื่อลดปริมาณและลดความชื้นที่เกิดจากขยะอินทรีย์ประเภทเศษ
              อาหาร


                    การผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเตาเผา เป็นวิธีการหนึ่งของกระบวนการที่
              ใช้ความร้อน(Thermal Conversion Process) ซึ่งหมายถึง การแปรคุณสมบัติ

              ทางกายภาพของขยะให้เป็นพลังงานด้วยความร้อน นอกจากการเผา
              (Incineration) แล้วยังมีวิธีอื่นๆ อีก เช่น วิธีก๊าซเชื้อเพลิง (Gasification) และ
              วิธี Plasma Arc พลังงานที่ได้ขึ้นกับค่าความร้อนและความชื้นของขยะและ

              ประสิทธิภาพของวิธีหรือเทคโนโลยีที่นำมาใช้งาน

                    ท้องถิ่นควรระมัดระวังกับการนำเสนอประสิทธิภาพของเทคโนโลยี
              ประเภทเตาเผา หรือก๊าซเชื้อเพลิงที่เกินจริง เช่น ความสามารถในการเผา

              โดยไม่ต้องคัดแยกหรือสามารถสร้างรายได้จากการจำหน่ายกระแสไฟฟ้า
              ที่ผลิตได้จนไม่ต้องการค่าบริการกำจัดขยะ


                    2) การผลิตกระแสไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพที่ได้จากระบบย่อย
              สลายแบบไม่ใช้อากาศ (Anaerobic Digestion) มีโครงการผลิตปุ๋ย
              อินทรีย์และพลังงาน เทศบาลนครระยองเป็นตัวอย่าง สามารถผลิตกระแส
              ไฟฟ้าได้ 0.625 เมกกะวัตต์เมื่อมีขยะอินทรีย์เข้าระบบประมาณวันละ 60
              ตัน ขยะอินทรีย์จะถูกย่อยโดยจุลินทรีย์และผลิตก๊าซชีวภาพที่มีสัดส่วน

              ของก๊าซมีเทนประมาณร้อยละ 60 ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นก๊าซเชื้อเพลิงที่ใช้ใน
              การผลิตกระแสไฟฟ้า









          ขยะชุมชน (Solid Waste)
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55