Page 77 - 11526_Fulltext
P. 77
ตอบโจทย์สิ่งแวดล้อมท้องถิ่น : แนวทางการจัดการขยะและน้ำเสียขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ผ่านมาพบว่ามีค่าไม่มากกว่า 80 มิลลิกรัมต่อลิตร และปริมาณน้ำเสียต่อ
ประชากรเฉลี่ยมีค่าประมาณ 100 – 200 ลิตรต่อคนต่อวันเท่านั้น ทำให้
ระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียที่ออกแบบมีขนาดใหญ่เกินความเป็นจริง
และเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้มีขนาดใหญ่เกินความจำเป็น
4) จำนวนประชากรที่นำมาใช้ในการออกแบบระบบการจัดการ
น้ำเสียที่ผ่านมาส่วนใหญ่ใช้จำนวนประชากรทั้งพื้นที่ของท้องถิ่นมา
พิจารณาออกแบบ ซึ่งในความเป็นจริงน้ำเสียที่เกิดขึ้นในเขตเมืองหรือเขต
ตลาดที่มีประชากรหนาแน่นเท่านั้นที่ถูกรวบรวมเข้าสู่ระบบท่อรวบรวม
และส่งไปบำบัด สำหรับในพื้นที่ที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างกระจัด-
กระจายนั้น การก่อสร้างระบบท่อรวบรวมน้ำเสียจะไม่มีความคุ้มค่าทาง
เศรษฐกิจจึงควรใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบติดกับที่ (Onsite treatment) ที่มี
ขนาดเล็ก เช่น ระบบเอเอส ระบบสระเติมอากาศ ระบบบ่อปรับเสถียร
และระบบบึงประดิษฐ์ จะคุ้มค่าการลงทุนมากกว่าและไม่ควรนำจำนวน
ประชากรนอกเขตท่อรวบรวมน้ำเสียมาร่วมพิจารณาออกแบบด้วย
นอกจากนี้พบว่าการคาดการณ์จำนวนประชากรที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 20
ปีข้างหน้าในหลายพื้นที่มีค่าสูงเกินไปโดยใช้อัตราการเจริญเติบโตที่มาก
เกินจริง ทำให้ปริมาณน้ำเสียที่คาดการณ์ในอนาคตมีปริมาณมากเกินไป
ระบบบำบัดน้ำเสียที่ออกแบบและก่อสร้างจึงมีขนาดใหญ่เกินไป
5) ไม่มีการพิจารณาแบ่งการก่อสร้างออกเป็นระยะ การออกแบบ
ระบบบำบัดน้ำเสียที่ผ่านมาจะออกแบบให้ทั้งระบบสามารถรองรับ
ปริมาณน้ำเสียทั้งเทศบาลได้ในอีก 20 ปีข้างหน้า ทำให้ต้องสร้างระบบที่มี
ขนาดใหญ่เกินความจำเป็น นอกจากนี้ในบางพื้นที่ทำการติดตั้งเครื่องจักร
อุปกรณ์ที่ออกแบบไว้สำหรับปริมาณน้ำเสียในอีก 20 ปีข้างหน้าพร้อมกัน
ทั้งหมด ซึ่งมากเกินความจำเป็นสำหรับปริมาณน้ำเสียในปัจจุบัน เช่น
เครื่องเติมอากาศ เครื่องสูบน้ำ เป็นต้น
การจัดการน้ำเสียชุมชน