Page 74 - 11526_Fulltext
P. 74

ตอบโจทย์สิ่งแวดล้อมท้องถิ่น : แนวทางการจัดการขยะและน้ำเสียขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                     (3)  ระบบบำบัดขั้นที่สาม โดยปกติแล้วระบบบำบัดน้ำเสียขั้น

                        ที่สองนั้นพอเพียงที่จะทำให้น้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วผ่าน
                        มาตรฐานน้ำทิ้ง แต่ในบางกรณีที่มีมาตรฐานน้ำทิ้งที่เข้มงวด
                        หรือน้ำทิ้งที่มีสารเคมีบางชนิดเกินมาตรฐานหรือในกรณีที่
                        ต้องการนำน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่จะต้องใช้ระบบบำบัดขั้น

                        ที่สามซึ่งเป็นระบบที่เกี่ยวกับการฆ่าเชื้อโรค การกำจัดสาร
                        แขวนลอยหรือการกำจัดสารอาหาร ได้แก่ ไนโตรเจนและ
                        ฟอสฟอรัสด้วยขบวนการทางเคมีหรือทางชีวภาพ ส่วนของแข็ง
                        แขวนลอยจะถูกกำจัดด้วยการกรอง


                     สถานะการดำเนินงานของระบบ
                บำบัดน้ำเสียชุมชน



                    ปัจจุบันเรามีระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียชุมชนมากกว่า 90 แห่ง

              โดยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 7 แห่ง นอกนั้นอยู่ในท้องถิ่นต่างๆ
              กระจายอยู่ทั่วประเทศ ระบบบำบัดน้ำเสียที่ก่อสร้างส่วนใหญ่เป็นระบบ
              บ่อปรับเสถียรใช้ธรรมชาติช่วยในการบำบัดน้ำเสีย ดูแลรักษาง่าย
              ไม่ต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญสูงและมีค่าใช้จ่ายในการเดิน
              ระบบต่ำ แต่มีข้อเสียคือต้องใช้พื้นที่จำนวนมากและมักประสบปัญหา

              ปริมาณสาหร่ายที่มีมากเกินไปในบ่อสุดท้าย ส่งผลทำให้น้ำที่ผ่านการ
              บำบัดแล้วมีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานน้ำทิ้ง นอกจากนี้ยังมีระบบสระเติม
              อากาศ ระบบเอเอส และคลองวนเวียนและระบบบำบัดแบบผสมผสาน

              อื่นๆ

                    จากจำนวนระบบบำบัดทั้งหมดมีประมาณครึ่งหนึ่งที่ยังคงเดิน

              ระบบ ส่วนที่เหลืออยู่ในระหว่างรอการดำเนินงานหรือซ่อมแซม และบางแห่ง
              หยุดใช้งานไปแล้ว




          การจัดการน้ำเสียชุมชน
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79