Page 82 - 11526_Fulltext
P. 82
ตอบโจทย์สิ่งแวดล้อมท้องถิ่น : แนวทางการจัดการขยะและน้ำเสียขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2
R หลักการทำงานของบึงประดิษฐ์
เมื่อน้ำเสียไหลเข้ามาในบึงประดิษฐ์ส่วนต้น สารอินทรีย์ส่วนหนึ่งจะ
ตกตะกอนจมตัวลงสู่ก้นบึง และถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ ส่วนสาร
อินทรีย์ที่ละลายน้ำจะถูกกำจัดโดยจุลินทรีย์ที่เกาะติดอยู่กับพืชน้ำหรือชั้น
หินและจุลินทรีย์ที่แขวนลอยอยู่ในน้ำ ระบบนี้จะได้รับออกซิเจนจากการ
แทรกซึมของอากาศผ่านผิวน้ำหรือชั้นหินลงมา ออกซิเจนบางส่วนจะได้
จากการสังเคราะห์แสงแต่มีปริมาณไม่มากนัก สำหรับสารแขวนลอยจะถูก
กรองและจมตัวอยู่ในช่วงต้นๆ ของระบบ การลดปริมาณไนโตรเจนจะเป็น
ไปตามกระบวนการ Nitrification และ Denitrification ส่วนการลดปริมาณ
16
ฟอสฟอรัสส่วนใหญ่จะเกิดที่ชั้นดินส่วนพื้นบ่อ และพืชน้ำจะช่วยดูดซับ
ฟอสฟอรัสผ่านทางรากและนำไปใช้ในการสร้างเซลล์ นอกจากนี้ระบบ
บึงประดิษฐ์ยังสามารถกำจัดโลหะหนักบางส่วนอีกด้วย
ส่วนประกอบของระบบ
1) ระบบบึงประดิษฐ์แบบ Free Water Surface Wetland
(FWS) เป็นแบบที่นิยมใช้ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำทิ้งหลังจากผ่านการ
บำบัดจากบ่อปรับเสถียร (Stabilization Pond) แล้ว ลักษณะของระบบแบบ
16 กระบวนการไนตริฟิเคชั่น (Nitrification)เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลง
แอมโมเนียเป็นสารประกอบไนเตรตด้วยปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของแบคทีเรียในดิน
เรียกแบคทีเรียเหล่านี้ว่า แบคทีเรียประเภทไนตริไฟอิง (Nitrifying bacteria) ได้แก่
ไนโตรแบคเตอร์ และไนโตรซีสทีส นอกจากนี้ยังมีพวกฟังไจ พวกแอสเพอร์จิลลัส
อีกด้วย ไนเตรตเป็นสารที่ละลายน้ำได้ดี จึงถูกพืชดูดซึมไปใช้ได้ง่าย แต่ไนเตรตบาง
ส่วนอาจซึมลงสู่ใต้ดินไปเป็นส่วนประกอบของน้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาล ถ้าหากมนุษย์
ได้รับไนเตรตเข้าสู่ร่างกายจะก่อให้เกิดอันตราย กระบวนการดีไนตริฟิเคชั่น
(Denitrification) เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงไนเตรตเป็นก๊าซไนโตรเจน โดยแบคทีเรีย
ประเภทดีไนตริไฟด์ (Denitrifyingbacteria) ซึ่งเจริญได้ดีทั้งในที่ที่มีและไม่มีออกซิเจน
การจัดการน้ำเสียชุมชน