Page 29 - 11526_Fulltext
P. 29
ตอบโจทย์สิ่งแวดล้อมท้องถิ่น : แนวทางการจัดการขยะและน้ำเสียขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1
ก่อนนี้มีข้อสงสัยว่ากรณีของเสียอันตรายที่เกิดขึ้นจากการใช้ใน
บ้านเรือน เช่น แบตเตอรี ภาชนะบรรจุยาฆ่าแมลง สารเคมี หรือยาที่หมด
อายุ ควรจัดให้อยู่ประเภทของขยะชุมชนด้วยหรือไม่ ต่อมาได้มีการ
ปรับปรุงขอบเขตภารกิจของท้องถิ่นให้ครอบคลุมการจัดการขยะอันตราย
ที่เกิดขึ้นในบ้านเรือนด้วย
สรุปแล้วเมื่อเรากล่าวถึงขยะชุมชนหรือขยะที่เป็นภาระหน้าที่ของ
ท้องถิ่นจะหมายรวมถึงบรรจุภัณฑ์ต่างๆ เศษอาหาร เศษใบไม้ ใบหญ้า
เศษวัสดุเหลือใช้และขยะมีพิษอันตรายที่ใช้อยู่ในบ้านเรือน แต่ไม่รวมขยะ
ที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมและภาคการเกษตร 6
องค์ประกอบของขยะ
ดังได้กล่าวมาแล้ว องค์ประกอบของขยะในพื้นที่ใดขึ้นกับสถานะ
ทางเศรษฐกิจ วิถีชีวิตและการบริโภคของสังคมนั้นๆ ในการสำรวจ
องค์ประกอบขยะทั่วประเทศระหว่างปี พ.ศ. 2546-2547 โดยกรมควบคุม
มลพิษ พบว่าในปัจจุบันรูปแบบการบริโภคของสังคมไทยในแต่ละท้องถิ่น
ต่างไม่แตกต่างกันมากนัก ทำให้องค์ประกอบของขยะมีลักษณะใกล้เคียง
กันกล่าวคือขยะส่วนใหญ่จะเป็นขยะอินทรีย์ที่เหลือจากการบริโภค
นอกนั้นจะเป็นขยะจำพวกบรรจุภัณฑ์ 7
6 George Tchobanoglous, Hilary Theisen, and Samuel A. Vigil, Integrated
Solid Waste Management-Engineering Principles and Management
Issues (New York : McGraw-Hill International Editions, 1993).
7 กรมควบคุมมลพิษ, “ข้อมูลการลดและใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอย องค์
ประกอบและปริมาณ,” [http://www.pcd.go.th/info_serv/waste_municip.html], 24
ธันวาคม 2552.
ขยะชุมชน (Solid Waste)