Page 25 - 11526_Fulltext
P. 25
ตอบโจทย์สิ่งแวดล้อมท้องถิ่น : แนวทางการจัดการขยะและน้ำเสียขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1
ชาวบ้านเข้าใจว่าอะไรที่ตนเองไม่ใช้แล้ว และต้องการทิ้ง คือขยะ
ที่ท้องถิ่นมีหน้าที่จัดเก็บ ขณะที่ท้องถิ่นกำหนดคำจำกัดความของขยะ
ที่แตกต่างออกไป ความเข้าใจในความหมายที่แตกต่างเช่นนี้ ดูแล้ว
เหมือนเป็นเรื่องเล็กๆ แต่มันได้สะท้อนให้เห็นถึงวิธีการทำงานของท้องถิ่น
และการให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ชาวบ้านเพื่อช่วยให้การให้บริการเป็น
ประโยชน์ต่อชาวบ้านอย่างแท้จริง
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 เป็นกฎหมายที่ท้องถิ่น
ใช้อ้างอิงในภารกิจการจัดการสิ่งแวดล้อมมากที่สุดได้ให้คำจำกัดความว่า
ขยะ หมายถึง เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก
ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ หรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บ
กวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น
ทางวิชาการได้ให้ความหมายเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติ
เช่น ขยะ หมายถึง สิ่งของเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตและอุปโภค
ซึ่งเสื่อมสภาพจนใช้การไม่ได้หรือไม่ต้องการใช้แล้ว บางชนิดเป็น
ของแข็งหรือกากของเสีย (Solid waste) มีผลเสียต่อสุขภาพกาย
และจิตใจ จำแนกเป็น 4 ประเภทหลัก คือ ขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล
ขยะอันตรายหรือขยะพิษ และขยะทั่วไป 4
ในแง่ของชาวบ้าน ขยะคือสิ่งของหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วและต้องการ
ทิ้ง ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของท้องถิ่นที่ต้องให้ความรู้ ความเข้าใจถึงเกณฑ์
ในการทิ้ง การจัดเก็บและกำจัดขยะแต่ละประเภท เช่นวิธีการทิ้งและการ
เก็บขนขยะชิ้นใหญ่หรือเศษวัสดุก่อสร้าง ซึ่งโดยทั่วไปท้องถิ่นจะจัดวิธีเก็บ
แยกจากขยะทั่วไป
4 อรุณี ชัยสวัสดิ์, [http://www.tistr.or.th/t/publication], 24 ธันวาคม 2552.
ขยะชุมชน (Solid Waste)