Page 27 - 11526_Fulltext
P. 27

ตอบโจทย์สิ่งแวดล้อมท้องถิ่น : แนวทางการจัดการขยะและน้ำเสียขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                                                                                    1

                      กรุงเทพมหานครให้ความหมายของขยะไว้ในข้อบัญญัติและแบ่ง
                 ประเภทของขยะเพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานสำหรับการจัดการ
                      “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า

                 ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ หรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่น
                 ใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น
                      “มูลฝอยทั่วไป” หมายความว่า มูลฝอยอื่นใดที่มิใช่มูลฝอยที่ย่อยสลาย
                 ได้ มูลฝอยที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ มูลฝอยอันตราย และมูลฝอยติดเชื้อ
                      “มูลฝอยที่ย่อยสลายได้” หมายความว่า มูลฝอยประเภทเศษอาหาร
                 เศษพืชผัก ผลไม้ รวมตลอดสิ่งอื่นใดที่เป็นอินทรียวัตถุที่สามารถย่อยสลาย
                 เน่าเปื่อยที่ไม่ใช่มูลฝอยติดเชื้อและไม่ใช่มูลฝอยอันตราย
                      “มูลฝอยที่กลับมาใช้ใหม่ได้” หมายความว่า มูลฝอยซึ่งสามารถนำ
                 กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ หรือนำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตใหม่ เช่น กระดาษ

                 แก้ว โลหะ พลาสติก อลูมิเนียม เป็นต้น
                      “มูลฝอยอันตราย” หมายความว่า มูลฝอยที่มีส่วนประกอบหรือปน
                 เปื้อนสารเคมีอันตราย เช่น สารไวไฟ สารเกิดปฏิกิริยาได้ง่าย สารที่มีความเป็น
                 พิษ สารที่มีฤทธิ์กัดกร่อนหรือสารอันตรายใดที่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพและ
                 สิ่งแวดล้อม
                      “มูลฝอยติดเชื้อ” หมายความว่า มูลฝอยที่มีเชื้อโรคปะปนอยู่ใน
                 ปริมาณที่สามารถทำให้เกิดโรคได้ ถ้ามีการสัมผัสหรือใกล้ชิดกับมูลฝอยนั้น
                 และหมายความรวมถึงมูลฝอยดังต่อไปนี้ที่เกิดขึ้นหรือใช้ในกระบวนการตรวจ
                 วินิจฉัยทางการแพทย์ การรักษาพยาบาล การให้ภูมิคุ้มกันโรค การทดลอง
                 เกี่ยวกับโรคและการตรวจชันสูตรศพหรือซากสัตว์ รวมทั้งในการศึกษาวิจัยเรื่อง
                 ดังกล่าว 1) ซากหรือชิ้นส่วนของมนุษย์หรือสัตว์ที่เป็นผลมาจากการผ่าตัด การ

                 ตรวจชันสูตรศพหรือซากสัตว์ และการใช้สัตว์ทดลอง 2) วัสดุของมีคม เช่น เข็ม
                 ใบมีด กระบอกฉีดยา หลอดแก้ว ภาชนะที่ทำด้วยแก้ว สไลด์ และแผ่นกระจก
                 ปิดสไลด์ 3) วัสดุซึ่งสัมผัสหรือสงสัยว่าจะสัมผัสกับเลือด ส่วนประกอบของ
                 เลือด ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเลือด สารน้ำจากร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์ วัคซีน
                 ที่ทำจากเชื้อโรคที่มีชีวิต เช่น สำลี ผ้าก๊อซ ผ้าต่าง ๆ ท่อยาง เป็นต้น 4) มูลฝอย
                 ทุกชนิดที่มาจากห้องรักษาผู้ป่วยติดเชื้อร้ายแรง



                                                                   ขยะชุมชน (Solid Waste)
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32