Page 17 - 11526_Fulltext
P. 17
ตอบโจทย์สิ่งแวดล้อมท้องถิ่น : แนวทางการจัดการขยะและน้ำเสียขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ดำเนินงานที่เน้นถึงการป้องกันไม่ให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม
มนุษย์ในอนาคต
การประชุมสุดยอดของโลกว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน เมื่อเดือน
กันยายน พ.ศ. 2545 ณ นครโยฮันเนสเบอร์ก ประเทศแอฟริกาใต้ มีข้อสรุป
เป็นคำประกาศว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับการจัดการทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีสาระสำคัญที่ต้องคำนึง 3 ประการ ประการ
แรก คนและชุมชนเป็นส่วนหนึ่งของ
สิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมจึงต้องคำนึงถึงการเพิ่มขึ้น
ของจำนวนประชากร การเปลี่ยนแปลง เป็นเรื่องยากที่จะให้ท้องถิ่น
วิถีชีวิตและความต้องการใช้ทรัพยากรที่ บริหารจัดการทุกเรื่อง
เพิ่มมากขึ้น ประการที่สอง ทรัพยากร ให้มีประสิทธิภาพ
ธรรมชาติบางอย่างเป็นสิ่งที่ใช้แล้วหมดไป โดยปราศจากความร่วมมือ
เช่น แร่ธาตุ บางอย่างสามารถฟื้นตัวได้แต่ หรือการสนับสนุนจาก
ต้องใช้เวลา เช่น ป่าไม้ จึงต้องมีการใช้ ประชาชน ท้องถิ่นอื่นๆ
อย่างระมัดระวังและให้เกิดประโยชน์สูงสุด หน่วยงานราชการ
และ ประการสุดท้าย การใช้ทรัพยากร ส่วนกลางและจากเอกชน
ธรรมชาติในกระบวนการผลิตและการ
บริโภคมีการปล่อยของเสียและมลพิษตาม
มาเสมอ จึงควรทำการป้องกันเสียตั้งแต่ต้น
โดยการลดของเสียจากกระบวนการผลิตและจากการบริโภค ซึ่งจะช่วย
ลดผลกระทบและลดต้นทุนได้มากกว่าการบำบัดและแก้ไขภาวะมลพิษ
ที่เกิดขึ้นในภายหลัง 3
3 Division for Sustainable Development, UN Department of Economic and
Social Affairs, The United Nations. “Johannesburg Declaration on
Sustainable Development,” ; available from http://www.un.org/esa/sustdev/
documents/WSSD_POI_PD/English/POI_PD.htm ; accessed 24 December 2009.
บทนำ