Page 15 - 11526_Fulltext
P. 15
ตอบโจทย์สิ่งแวดล้อมท้องถิ่น : แนวทางการจัดการขยะและน้ำเสียขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ทรัพยากรทางการบริหารและการเงินของท้องถิ่นที่มีขนาดเล็ก มีผลต่อ
ขีดความสามารถและศักยภาพในการดำเนินภารกิจของท้องถิ่น ภารกิจ
บางด้านต้องอาศัยทรัพยากรและความรู้ ความชำนาญเฉพาะด้านที่
ท้องถิ่นขนาดเล็กไม่สามารถดำเนินการได้โดยลำพัง สอดคล้องกับข้อสรุป
ของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ปัจจัยที่สาม เกิดจากสภาวะไร้เอกภาพในการบริหารจัดการในพื้นที่ต่างๆ
อันเนื่องมาจากการดำรงอยู่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็ก
จำนวนมากซึ่งโดยส่วนใหญ่มีศักยภาพในเชิงการบริหารค่อนข้างต่ำ
สภาพการณ์เช่นนี้จะไม่เอื้อประโยชน์ต่อการจัดทำภารกิจที่ต้องการ
เอกภาพในการวางแผนและปฏิบัติการ รวมถึงปัญหาความไม่เหมาะสม
ของขนาด (Economy of Scale) ในการจัดทำภารกิจที่ต้องอาศัยทรัพยากร
และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน สำหรับประเด็นนี้เป็นปัญหาเชิง
2
โครงสร้าง ดังนั้นในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมจึงได้ใช้วิธีการจัดกลุ่มท้องถิ่น (Cluster) เพื่อให้ท้องถิ่น
ใกล้เคียงรวมตัวกันจัดทำโครงการด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การก่อสร้างระบบ
บำบัดน้ำเสียรวม ระบบกำจัดขยะรวมหรือการพัฒนาแหล่งน้ำบริโภค
ร่วมกัน และคาดหวังว่าการจัดกลุ่มท้องถิ่นจะช่วยแก้ปัญหาสภาวะ
ไร้เอกภาพและปัญหาความไม่เหมาะสมของขนาดของโครงการ
ส่วนปัจจัยที่เกี่ยวกับงบประมาณการลงทุน การบริหารดำเนินการ
และปัญหาขาดแคลนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน นอกเหนือ
จากการสนับสุนนโดยตรงจากรัฐซึ่งมีข้อจำกัดเช่นเดียวกันแล้ว รัฐได้
ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนให้เป็นทางเลือกหนึ่งที่เป็นไปได้ที่
สามารถสนับสนุนการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น ปัจจุบันแนวทาง
2 นครินทร์ เมฆไตรรัตน์และคณะ, รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ต้นแบบบันทึก
ข้อตกลงเพื่อการจัดกลุ่มพื้นที่การให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(กรุงเทพฯ : บริษัท มิสเตอร์ก๊อปปี้ (ประเทศไทย) จำกัด, 2549).
บทนำ