Page 16 - 11526_Fulltext
P. 16

ตอบโจทย์สิ่งแวดล้อมท้องถิ่น : แนวทางการจัดการขยะและน้ำเสียขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

              ดังกล่าวได้รับความสนใจจากท้องถิ่นและเอกชน เป็นอีกกลไกหนึ่งที่จะ

              ช่วยให้ท้องถิ่นเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการสาธารณะและการ
              จัดการกับปัญหาสิ่งแวดล้อมรวมถึงปัญหาอื่นๆ ของท้องถิ่น



                    การจัดการสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น


                    เมื่อกล่าวถึงการจัดการสิ่งแวดล้อม เราจะได้ยินคำว่า “อย่างยั่ง

              ยืน” ต่อท้ายเสมอ ทำไมการจัดการสิ่งแวดล้อมต้องอย่างยั่งยืน? คงตอบ
              ได้ไม่ยาก ก็เพราะเราต้องการให้เกิดประสิทธิผลหรือผลประโยชน์ต่อ
              สิ่งแวดล้อมและสังคมมนุษย์ในระยะยาว ไม่ใช่เพียงแค่ผลที่จะได้เฉพาะ
              หน้า ซึ่งตรงกับคำว่า “การพัฒนาที่ยั่งยืน” ที่สำนักงานคณะกรรมการ

              พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติให้ความหมายไว้ว่า เป็นการ
              พัฒนาที่คำนึงถึงขีดจำกัดของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สนอง
              ต่อความต้องการในปัจจุบันโดยไม่ส่งผลเสียต่อความต้องการในอนาคต
              คำนึงถึงความเป็นองค์รวมเนื่องจากการกระทำสิ่งใดจะส่งผลกระทบต่อ

              สิ่งอื่นๆ ด้วยและยอมรับเทคโนโลยีที่สร้างสรรค์

                    บางท้องถิ่นกังวลใจว่า หากเราจะทำงานโดยยึดหลักการพัฒนา

              ที่ยั่งยืนแล้ว ทิศทางการพัฒนาของท้องถิ่นจะต้องเน้นแต่เรื่องกิจกรรมด้าน
              อนุรักษ์ธรรมชาติหรืองานด้านสิ่งแวดล้อมจนขาดการพัฒนาสาธารณูปโภค
              อื่นๆ ไม่ทำโครงการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ไม่ยอมรับการลงทุนภาค
              อุตสาหกรรม หากเป็นเช่นนั้น ท้องถิ่นก็จะขาดศักยภาพทางเศรษฐกิจ

              แต่ความจริงแล้วการพัฒนาที่ยั่งยืนหมายถึงการดำเนินการที่ต้องคำนึงถึง
              ความเหมาะสมและความสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
              ทำให้การใช้ทรัพยากรเกิดประโยชน์สูงสุดโดยต้องคำนึงตลอดเวลาว่า
              โลกนี้มีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่จำกัด เมื่อใช้หมดหรือ

              เสียหายแล้วเป็นเรื่องยากที่จะหามาทดแทน การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นการ



          บทนำ
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21