Page 14 - 11526_Fulltext
P. 14
ตอบโจทย์สิ่งแวดล้อมท้องถิ่น : แนวทางการจัดการขยะและน้ำเสียขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
น้ำเสีย และมากกว่า 30,000 ล้านบาทเพื่อการสร้างระบบกำจัดขยะ แม้จะ
ใช้งบประมาณจำนวนมากแต่จากการติดตามประเมินผลโครงการต่างๆ
ที่ดำเนินการภายใต้งบประมาณดังกล่าวพบว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมของ
ท้องถิ่นยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสมและเบ็ดเสร็จ
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้
สรุปว่า การที่ท้องถิ่นไม่สามารถแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ของตนมา
จากสาเหตุ 3 ประการ ประการแรก ท้องถิ่นขาดบุคลากรที่มีความรู้ใน
การเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและประสบการณ์ในการบริหารจัดการ
ประการที่สอง ท้องถิ่นไม่สามารถจัดเก็บรายได้จากการให้บริการหรือ
จัดสรรงบประมาณให้เพียงพอกับการบริหารจัดการ ดำเนินงานและบำรุง
รักษาเครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์ ประการที่สาม ท้องถิ่นขาดทักษะ
ในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมของ
ท้องถิ่น 1
รศ. ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์และคณะกล่าวถึงปัจจัยที่มีผลต่อ
ประสิทธิภาพในการจัดบริการสาธารณะรวมถึงการจัดการสิ่งแวดล้อมของ
ท้องถิ่น ปัจจัยแรก เกิดจากการที่ภารกิจของท้องถิ่นเพิ่มขึ้นอย่างมาก
ทั้งที่เป็นภารกิจที่กำหนดตามพระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นต่างๆ และภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนจากส่วนกลางตามแผน
และขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจน
ภารกิจที่มีความจำเป็นเร่งด่วนในฐานะหน่วยดำเนินงานเพื่อตอบสนอง
นโยบายของรัฐบาล ภารกิจที่เพิ่มมากขึ้นทำให้ท้องถิ่นไม่สามารถปฏิบัติงาน
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจัยที่สอง เป็นข้อจำกัดทางด้านขนาด
1 สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, โครงการ
นำร่องการมีส่วนร่วมในการจัดการน้ำเสียและขยะมูลฝอยชุมชนขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชน (กรุงเทพมหานคร : สำนักงานนโยบายและ
แผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2549).
บทนำ