Page 136 - 11526_Fulltext
P. 136
ตอบโจทย์สิ่งแวดล้อมท้องถิ่น : แนวทางการจัดการขยะและน้ำเสียขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
12
เอกชนสนใจที่จะลงทุนในโครงการที่มีผลตอบแทนที่มากที่สุด ทำให้
ท้องถิ่นต้องรักษาความสมดุลระหว่างการทำกำไรของเอกชนกับ
ผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากการให้บริการ เมื่อเปิดโอกาสให้
เอกชนดำเนินการ เอกชนย่อมต้องการกำไรสูงสุดอาจทำให้ประชาชนสูญ
เสียหรืออย่างน้อยก็ต้องจ่ายค่าบริการที่มีราคาแพง กลไกการแข่งขัน
ระหว่างเอกชนช่วยป้องกันการผูกขาดและเป็นตัวปรับให้ระดับราคามี
เหตุผล
เกณฑ์ในการพิจารณาผลตอบแทนของโครงการหรือตัวชี้วัดเป็นการ
เปรียบเทียบระหว่างมูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์กับต้นทุนและค่าใช้
จ่ายของโครงการที่นิยมใช้อยู่ทั่วไปมี 3 ลักษณะ ได้แก่
1) อัตราผลตอบแทนทางการเงิน (Financial Internal Rate
of Return - FIRR) เป็นอัตราคิดลดที่ทำให้มูลค่าปัจจุบันของต้นทุน
ทั้งหมดของโครงการเท่ากับมูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์ตลอดอายุ
โครงการ อัตราคิดลดในที่นี้ก็คือ ผลตอบแทนเฉลี่ยที่จะได้รับจากโครงการ
โดยอัตราคิดลดหรือผลตอบแทนที่เหมาะสมควรไม่น้อยกว่าอัตราดอกเบี้ย
ของธนาคารพาณิชย์ในเวลานั้น ทั้งนี้เพราะหากเอกชนนำเอาทรัพยากร
หรือเงินจำนวนดังกล่าวไปลงทุนหรือฝากธนาคารก็จะได้ผลตอบแทน
เท่ากับดอกเบี้ยโดยมีความเสี่ยงน้อยมาก แต่ในทางกลับกันการลงทุนใน
โครงการจะเกิดความเสี่ยงมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการนำเงินลงทุนไป
ฝากธนาคาร นั่นหมายความว่าอัตราผลตอบแทนที่เกิดขึ้นจากการลงทุน
ในโครงการอาจจะน้อยกว่าอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ในเวลานั้น
2) มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value - NPV) มูลค่าที่
แตกต่างระหว่างมูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์กับมูลค่าปัจจุบันของ
ต้นทุนและค่าใช้จ่ายของโครงการ เป็นค่าที่ชี้ให้เห็นว่าโครงการนั้นจะให้ผล
ตอบแทนคุ้มค่าหรือไม่ หากมูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับหรือมากกว่า
การจัดเตรียมโครงการ