Page 128 - 11526_Fulltext
P. 128

ตอบโจทย์สิ่งแวดล้อมท้องถิ่น : แนวทางการจัดการขยะและน้ำเสียขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
       11
              ประสบการณ์ตรงของท้องถิ่นหรือจากการศึกษาประสบการณ์จากท้องถิ่น

              อื่นที่ประสบความสำเร็จ การกำหนดแนวทางตามปัจจัยการลงทุนได้แก่

                    1)   แนวทางที่ต้องใช้เงินลงทุนในระดับต่ำหรือปานกลาง เป็น

              แนวทางที่สามารถดำเนินการได้ทันทีสำหรับปัญหาที่ไม่มีความซับซ้อน
              ไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณที่สูงมาก เช่น การพัฒนาการมีส่วนร่วมของ
              ประชาชนในการลดปริมาณขยะ การประชาสัมพันธฺ์เพื่อสร้างความรู้ความ
              เข้าใจและความตระหนักของประชาชน หรือการใช้มาตรการทางกฎหมาย
              เป็นต้น


                    2)   แนวทางที่ต้องใช้เงินลงทุนในระดับสูง เป็นแนวทางเพื่อแก้
              ปัญหาที่มีความซับซ้อนกว่าแนวทางแรก ต้องใช้กระบวนการทำงานที่เริ่ม

              จากการสำรวจ วิเคราะห์และดำเนินการ ผลที่ตามมาก็คือ ความจำเป็นใน
              การจัดหางบประมาณ เช่น การก่อสร้างสถานที่กำจัดขยะหรือระบบบำบัด
              น้ำเสีย เป็นต้น


                        ในบางกรณี จำเป็นต้องใช้แนวทางผสมผสานเพื่อให้เกิด
              ประสิทธิภาพสูงสุดโดยมีต้นทุนที่ไม่สูงจนเกินไป เช่น การก่อสร้างระบบ
              กำจัดขยะที่ควบคู่ไปกับการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการลด

              และคัดแยกขยะจากต้นทาง ช่วยให้ปริมาณขยะที่จะเข้าสู่ระบบกำจัด
              ลดลง การลงทุนก่อสร้างระบบก็ลดลงและเป็นการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน
              กว่าการลงทุนก่อสร้างระบบเพียงอย่างเดียว


              	 R ทางเลือกที่เหมาะสม


                    ทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับท้องถิ่นอาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุด
              ก็ได้ ขึ้นกับสถานการณ์ ปัจจัยหรือเกณฑ์ที่ถูกกำหนดในการคัดเลือก

              ดังนั้น ท้องถิ่นควรนำเอาทางเลือกต่างๆ มาเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียที่ก่อ
              ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด กรณีของระบบการจัดการขยะและระบบบำบัด



          การจัดเตรียมโครงการ
   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133