Page 67 - 11526_Fulltext
P. 67
ตอบโจทย์สิ่งแวดล้อมท้องถิ่น : แนวทางการจัดการขยะและน้ำเสียขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
จากห้องน้ำมีความสกปรกสูง ส่วนน้ำทิ้งจากการชะล้างมีความสกปรก
น้อยกว่า ปริมาณน้ำเสียชุมชนของแต่ละพื้นที่จะขึ้นกับปริมาณน้ำใช้เพื่อ
การอุปโภคบริโภคในท้องถิ่นนั้น สำหรับอัตราการใช้น้ำเพื่อการอุปโภค
บริโภคสำหรับชุมชนประเภทต่างๆ เป็นดังนี้ ชุมชนในเมืองขนาดใหญ่
14
มีค่าเท่ากับ 200-250 ลิตรต่อคนต่อวัน ชุมชนในเมืองขนาดเล็กเท่ากับ
150-180 ลิตรต่อคนต่อวัน และชุมชนในชนบทเท่ากับ 80-120 ลิตรต่อคน
ต่อวัน ในการประมาณปริมาณน้ำใช้สำหรับพื้นที่เขตชุมชนเมืองจะใช้ค่า
เฉลี่ยเท่ากับ 200 ลิตรต่อคนต่อวันและชุมชนชนบทใช้อัตราการใช้น้ำ
เท่ากับ 100 ลิตรต่อคนต่อวัน แม้ว่าการจ่ายน้ำประปาอาจไม่ทั่วถึงทั้งเขต
พื้นที่ก็ตาม แต่ประชาชนจะใช้แหล่งน้ำประเภทอื่นทดแทน
ในการคำนวณปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้นนั้นจะพิจารณาว่าร้อยละ 80
ของน้ำที่ใช้อุปโภคบริโภคจะกลายเป็นน้ำเสียลงสู่ท่อรวบรวมน้ำเสียและ
สำหรับพื้นที่ที่ยังไม่มีการสำรวจตรวจสอบอัตราน้ำไหลซึมเข้าท่อจากน้ำ
ใต้ดินจะสมมติให้ปริมาณน้ำซึมเข้าท่อจากน้ำใต้ดินมีค่าเท่ากับร้อยละ 20
ของปริมาณน้ำเสียจากบ้านเรือนอยู่อาศัย ดังนั้นปริมาณน้ำเสียที่ไหล
ภายในท่อจะเท่ากับปริมาณน้ำเสียทั้งหมดบวกด้วยร้อยละ 20 ของ
ปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้น
2) น้ำเสียจากอุตสาหกรรม ในด้านการจัดการน้ำเสีย
อุตสาหกรรมนั้น รัฐดำเนินการควบคุมและป้องกันโดยการกำหนด
มาตรฐานน้ำทิ้งจากอุตสาหกรรมเพื่อให้โรงงานอุตสาหกรรมบำบัดน้ำเสีย
ให้ได้คุณภาพน้ำตามมาตรฐานน้ำทิ้งก่อนปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม โดยค่า
BOD ของน้ำทิ้งจะต้องไม่มากกว่า 20 มิลลิกรัมต่อลิตร สำหรับโรงงาน
อุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ท่อรวบรวมน้ำเสียของเทศบาลจะระบาย
14 ศุภฤกษ์ สินสุพรรณ, การออกแบบวิศวกรรมสุขาภิบาล เล่มที่ 1
วิศวกรรมการประปา, พิมพ์ครั้งที่ 4 (ขอนแก่น : คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2533).
การจัดการน้ำเสียชุมชน